วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันพฤหสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2562

นำเสนอวิจัยของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่1 เรื่องการส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา" 
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา"
2.เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา"
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา 8 ชุด
2. แบบวัดความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย
3. แบบวิเคราะห์ความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษามีพัฒนาการความเข้าใจภาษาโดยรวมสูงชึ้นร้อยละ 53.72 ของความสามารถพื้นฐานเดิม 
ชุดกิจกรรม






กลุ่มที่2 การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

2. โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
3.  แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
-ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
-เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานสัยรัการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05
ชุดกิจกรรม



กลุ่มที่3การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
2. แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
3. แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
4. แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
สรุปผลการวิจัย
 ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ชุดกิจกรรม
ใหญ่-เล็ก

กลุ่มที่4การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์ 
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
สรุปผลการวิจัย
หลังการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในเรื่องที่ผู้ปกครองเลือกมาแก้ปัญหา ได้แก่เรื่อง โรคฟันผุในเด็กวัยอนุบาล ดังนี้
     1. ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
     2. ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
กลุ่มที่5การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
วัตถุประสงค์ 
2.เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด

2. แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
 1.หลังจากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้น
2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ที่เข้าร่วมโครงการเป็นประจำสม่ำเสมอปรากฏว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน 1-10 เรียงลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ไม่ได้มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ปฐมวัย
ชุดกิจกรรม



การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ มีส่วนร่วมในกิจกรรม
ประเมินเพื่อน มีจิตอาสา คอยช่วยเหลือ
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำต่อการวิจัย และนำเสนอต่างๆได้เข้าใจง่ายค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น