วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14
วันพฤหสบดี ที่ 14 พฤศจิกายน 2562


นำเสนอหลังจากไปจัดโครงการมา สะท้อนความรู้สึกตนเองต่อการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้

การรับมือกับผู้ปกครองในหลายแบบที่เราจะให้ความรู้ว่าเขาต้องการรู้ในเรื่องไหนและเราจะแก้ปัญหายังไงเมื่อเขาถาม และเราควรให้ความรู้ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเด็กในความดูแลของผู้ปกครองโดยตรงและถูกต้องตามหลักสูตรหรือพัฒนาการของเด็กที่เป็นอยู่มีความท้าทายในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆและการทำงานร่วมกับเพื่อนได้เรียนรู้ชุมชนทั่วไปในบริเวณที่เราไปศึกษาหาพื้นที่ว่าเป็นชุมชนแบบไหนวัฒนธรรมการเป็นอยู่เป็นอย่างไรภายในนั้นและการอยู่ร่วมกันของผู้ปกครองกับเด็กสนิทสนมแค่ไหนมีปัญหาหรือไม่
ปัญหาการจัดเตรียมโครงการ
พื้นที่วางในการโชว์อุปกรณ์ของว่างหรือจุดลงทะเบียนยังเล็กไปและยังไม่ค่อยสะดวกมากแต่เราจัดเตรียมรวดเร็วและเสร็จสิ้นไวเริ่มทำโครงการได้ไวและผู้ปกครองฟังบ้างไม่ฟังบ้างเด็กรบกวนบ้างต้องแบ่งเพื่อนไปเก็บเด็กบ้างถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและสนุกสนานดีถือว่าเป็นการมีประสบการณ์ครั้งแรก
การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ทำบอร์ดให้ความรู้ผู้ปกครองและจัดเก็บบอร์ดภายในที่พักของตน. การทำพาวเวอร์พอยเพื่อพรีเซนต์หลังจากออกปฏิบัติโครงการแล้วภายในโครงการจัดเตรียมสถานที่และกำกับดูแลในส่วนของการลงทะเบียนและให้ความรู้ในเรื่องการทำสื่อกำกับดูแลผู้ปกครองและเตรียมสื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองในการทำสื่อต่างๆและจัดเก็บสถานที่ บทบาทหน้าที่หลักๆที่ได้รับคือกำกับดูแลจุดลงทะเบียนและสอนวิธีการทำสื่อและกำกับดูแลการทำสื่อจัดเตรียมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครอง
เพื่อนภายในกลุ่ม
เพื่อนทุกคนด้วยความที่มีน้อยลงมือลงแรงช่วยกันเต็มที่และพวกเรายังมาช่วยในหน้าที่ที่ตนเองไม่ได้รับผิดชอบบางคนติดธุระเราเข้าใจกันและเราแก้ปัญหาตรงนั้นได้ดีเพราะจำนวนผู้ปกครองอาจไม่ได้มากด้วยจึงผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดีขอบคุณเพื่อนเพื่อนที่อยู่ข้างกันและคอยช่วยเหลือกันเคารพการตัดสินใจของกันและกันเสมอ
ภาพรวมของการจัดทำโครงการ
ออกมาดีมาก เกินคาดแต่ก็ไม่เกินไปกว่าภาพที่คาดหวังไว้อุปสรรคมีบ้างถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าฝึกเราไปในตัวและการมีประสบการณ์ที่ดีเพื่อไปใช้ในอนาคตครูน่ารักคอยช่วยเหลือ

การประเมิน❤❤

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนสายเนื่องจากประสบปัญหาเกี่ยวกับอุบติเหตุเล็กน้อย
ประเมินเพื่อนช่วยเหลือกันเสมอ 
ประเมินอาจารย์ คอยให้คำปรึกษาทุกอย่าง ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13
วันที่ึ 7 พฤศจิกายน 2562

วันจัดโครงการ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กอ่อนก่อนวัยเรียนชุมชนจันทราสุข ลาดพร้าว 87

ถึงสถานที่เวลา 12.30น. จัดสถานที่




เวลา 13.00-13.30 ลงทะเบียนแจกแผ่นพับ และของที่ระลึก

 เวลา 13.30 - 14.00 กล่าวเปิดโครงการ

เวลา 14.00-14.30 ให้ความรู้เรื่องสื่อโดยวิทยากร

เวลา 14.30 - 15.30 ประดิษฐ์สื่อหุ่นมือปีกขยับ และหุ่นนักร้อย


เวลา 16.00 - 16.30 กล่าวปิดโครงการ ถ่ายรูปร่วมกัน แจกใบประเมิน และรับของว่าง



การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง  อำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครอง ปฏิบัติหน้าที่ตนเองอย่างดีที่สุด
ประเมินเพื่อนช่วยเหลือกันตลอดเวลา
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
วันพฤหสบดี ที่ 31 ตุลาคม 2562

นำเสนอโครงการก่อนไปจัดโครงการจริง คร่าวๆ ดังนี้
ให้ผู้ปกครอง ลงทะเบียนที่หน้าศูนย์ และแจกของที่ระลึก นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ



พิธีกรกล่าวเปิดงาน นางสาวขนิษฐา สมานมิตร
ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อ ความหมายของสื่อต่างๆโดยวิทยากร 2 คน คือ นางสาววิภาพร จิตอาคะ และนางสาววสุธิดา คชชา


สาธิตการทำหุ่นมือปีกขยับ นางสาว วิจิตรา ปาคำ พร้อมควบคุมดูแลอำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองขณะทำ รับผิดชอบร่วมกัน

สาธิตการทำหุ่นยนต์นักร้อย นางสาว วิจิตรา ปาคำ พร้อมควบคุมดูแลอำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองขณะทำ รับผิดชอบร่วมกัน

กล่าวปิดงาน 
มอบของที่ระลึก
แจกใบประเมินโครงการ พร้อมของว่าง

การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง  ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์
ประเมินเพื่อนช่วยเหลือกันตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำและเพิ่มเติมบางอย่างให้สมบูรณ์ได้ดี
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11
วันพฤหสบดี ที่ 24 ตุลาคม 2562

อาจารย์ดูรูปบอร์ดที่จะให้ไปให้ความรู้ผู้ปกครอง และแผ่นพับถามเกี่ยวกับของที่ระลึก และกลุ่มดิฉันเลือกพวงกุญแจเป็นของที่ระลึก และของฝากให้กับทางศุฯย์เด็กเล็กด้วย

ข้อเสนอแนะ บอร์ดดูว่างเกินไป อาจนำรูปมาติดเพื่อใมห้เห็นภาพมากขึ้น และแก้ไขใบบันทึกข้อความอีกครั้ง

การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง  ฟังและนำคำแนะนำไปแก้ไข โดยการเพิ่มภาพในบอร์ดมากขึ้น
ประเมินเพื่อน คอยช่วยเหลือเสมอ
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำกับโครงการทุกอย่าง อย่างใจเย็นและช่วยให้สื่อเพิ่มเพื่อนำไปเป็นตัวอย่าง                  ให้ผู้ปกครองดู ขอบคุณค่ะ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
วันพฤหสบดี ที่ 24 ตุลาคม 2562

นำกำหนดการมาให้อาจารย์ดูและให้อาจารย์เซนต์ใบบันทึกข้อความ 




ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ เพิ่มวัสดุเหลือใช้ที่จะไปให้ผู้ปกครองทำในกำหนดการด้วย ควรมีสื่อมาโชว์มากกว่านี้ และอาจารย์ให้แก้ไขใบบันทึกข้อความเล็กน้อย
การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง  ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์
ประเมินเพื่อนช่วยเหลือกันตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำกับโครงการทุกอย่าง อย่างเหมาะสม
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันพฤหสบดี ที่ 10 ตุลาคม 2562

เข้าปรึกษาโครงการ สื่อสร้างสรรค์เสริมสร้างจินตนาการกลุ่มของตนเอง ปรึกษารายละเอียดโครงการ ความคืบหน้ากลุ่มดิฉันได้สถานที่แล้ว และกำลังอยู่ในขั้นออกสำรวจโดยแจกแบบสอบถามให้กับผู้ปกครองตามชุมชน ครั้งหน้าอาจารย์ให้เตรียมกำหนดการมาให้ดู และอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์ไว้ในการทำบอร์ดให้ความรู้อีกด้วย


การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง  มีส่วนร่วมในกิจกรรมเสมอ และรับผิดชอบหน้าที่ตนเอง
ประเมินเพื่อน มีจิตอาสา คอยช่วยเหลือ
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำกับโครงการทุกอย่าง อย่างเป็นกันเอง เข้าใจนักศึกษา


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันพฤหสบดี ที่ 3 ตุลาคม 2562

นำเสนอวิจัยของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่1 เรื่องการส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา" 
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา"
2.เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา"
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา 8 ชุด
2. แบบวัดความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย
3. แบบวิเคราะห์ความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษามีพัฒนาการความเข้าใจภาษาโดยรวมสูงชึ้นร้อยละ 53.72 ของความสามารถพื้นฐานเดิม 
ชุดกิจกรรม






กลุ่มที่2 การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

2. โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
3.  แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
-ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
-เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานสัยรัการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05
ชุดกิจกรรม



กลุ่มที่3การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
2. แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
3. แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
4. แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
สรุปผลการวิจัย
 ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ชุดกิจกรรม
ใหญ่-เล็ก

กลุ่มที่4การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์ 
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
สรุปผลการวิจัย
หลังการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในเรื่องที่ผู้ปกครองเลือกมาแก้ปัญหา ได้แก่เรื่อง โรคฟันผุในเด็กวัยอนุบาล ดังนี้
     1. ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
     2. ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
กลุ่มที่5การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
วัตถุประสงค์ 
2.เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
3.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด

2. แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการวิจัย
 1.หลังจากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้น
2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ที่เข้าร่วมโครงการเป็นประจำสม่ำเสมอปรากฏว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและจำแนกรายทักษะคือ ด้านการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การรู้ค่าจำนวน 1-10 เรียงลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ไม่ได้มีผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ปฐมวัย
ชุดกิจกรรม



การประเมิน❤❤
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนอ มีส่วนร่วมในกิจกรรม
ประเมินเพื่อน มีจิตอาสา คอยช่วยเหลือ
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำต่อการวิจัย และนำเสนอต่างๆได้เข้าใจง่ายค่ะ